ผมเป็นคนนึงที่ตุนสต็อกแบบซื้อมาขายไป
เปิดบิลทุกครั้งหลักหลายหมื่น-แสนในหลายแบรนด์
และพบว่ามีสินค้าหลายตัว ที่เคยขายดี
แต่ปัจจุบันขายแทบไม่ได้ และ สินค้าจมสต็อกหลายบาท
ผมจึงหวังว่าประสบการณ์นี้
อาจช่วยให้เพื่อนๆเปิดมุมมองมากขึ้นนะครับ
เพราะยุคนี้เราสามารถลงทุนน้อย / ได้กำไรเทียบเท่ากัน
หรือมากกว่าได้โดยไม่ต้องตุนสินค้าให้เหนื่อย
เสียสุขภาพจิตเวลาขายไม่ได้
และมีความเสี่ยงน้อยลงด้วย
ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ
ข้อแนะนำสินค้าที่ควรเลี่ยง ไม่ควรตุนสต็อกเพื่อขาย
1. สินค้าที่มีแบรนด์เปิด Official Store ขายเองในทุก Platform
ไม่ว่าจะเป็น Shopee / Lazada / TikTok
จริงๆ ข้อนี้ปฏิเสธไม่ได้ในปัจจุบัน เพราะ
แทบทุกแบรนด์เปิดตัวมาขายเองในออนไลน์หมดแล้ว
การ Disrupt ของ Platform ที่ผ่านมา
ทั้งส่วนลดต่างๆ หรือ การทำโปรแรงๆของตัวแทน
ทำให้แบรนด์เห็นว่ายังมีเม็ดเงินรายได้ตรงนี้อยู่อีกมาก
จึงไม่แปลกถ้าอยากกระโดดมาตะครุบยอดเอง
เพราะส่วนใหญ่เสียค่าธรรมเนียมการขายน้อยกว่าส่วนลดให้ตัวแทนอีก
ถ้าแบรนด์ไหนทำครบหมดแล้ว
แปลว่าช่องทางที่คุณกำลังขาย
คุณกำลังแข่งขันกับแบรนด์ตรงๆ ในเวทีเดียวกันแล้ว
คุณจึงต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า
“ทำไมลูกค้าต้องซื้อกับคุณ แทนที่จะซื้อจากร้านค้าทางการ”
2. สินค้าที่แบรนด์ที่ไม่มีความตั้งใจที่จะควบคุมราคาให้มีความเสมอภาคในการขายบนช่องทางออนไลน์
ผมหมายถึง ไม่มีการควบคุมแบบเด็ดขาด
สำหรับส่วนลดเพิ่มเติม ที่ผู้ขายจะต้องออกส่วนลดเพิ่มให้ลูกค้าอีก
เช่น แบรนด์ให้ตั้งราคาขาย 399 บาท
แต่ร้านค้าที่ขาย ทำ Flash Sale เหลือ 379 บาท
หรือทำส่วนลดร้านค้าลดเพิ่มอีก 50 บาท
สุดท้ายลูกค้าซื้อร้านตัวแทน A เพียง 349 บาท
แต่คนอื่นขายที่ 399 บาท
การที่แบรนด์ไม่ใส่ใจ
จะเป็นการขายแบบไม่แคร์ตัวแทน
ที่กำลังทำยอดขายให้ก็จริง แต่ทำแบบพากันไปตายในอนาคต
แบรนด์ที่ดีต้องมีบทลงโทษร้านที่ทำผิดแบบชัดเจน
ไม่ใช่แบบขอไปที
หรือร้องเรียนไปแล้วบอกว่าดำเนินการให้ แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
(ถ่วงเวลาให้เราเสียเวลาตั้งความหวังลมๆแล้งๆ และตุนของต่อไป)
3. สินค้าที่แบรนด์ตั้งราคาขาย “เท่า” ตัวแทนจำหน่าย
จริงๆ การตั้งขายเท่ากันไม่ผิดครับ
แต่การขายของ Official Store แม้ว่าจะตั้งราคาขายเท่ากัน
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมทดสอบมาแล้ว
(เพราะผมมีทั้งร้านปกติ และ ร้านทางการในทุก Platform)
คนซื้อจำนวนมากเลือกร้านทางการมากกว่าร้านตัวแทนอยู่ดี
อาจเป็นเพราะ น่าเชื่อถือกว่า / ระยะเวลาการคืนสินค้าได้นานกว่า
(เมื่อคุณซื้อใน Shopee Mall / LazMall หรือ TikTok Shop Mall)
นั่นหมายถึงต่อให้คุณทำการตลาดลากเข้ามาใน Platform
คุณทำได้ แต่ต้องยอมรับว่า
มีคนซื้อบางกลุ่มที่คุณกำลังยิงโฆษณา และ ลากพวกเขาให้มาโดนแบรนด์ขายเอง
กำไรแทนที่จะได้เต็มๆ
คุณดันต้องเป็นคนจ่ายค่าการตลาดหนักๆ แทนแบรนด์ในส่วนนี้ด้วย
ส่วนตัวที่ผมทดสอบแล้วกับแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา
ผมมีหลายร้านค้า แต่ละร้านใช้เครื่องมือการตลาดที่ต่างกัน
พบว่าร้าน Official Store
ยิง Ads น้อย แต่ ROAS สูงกว่าร้านปกติมาก
แม้ว่าจะตั้งราคาเท่ากันก็ตามที
4. สินค้าที่แบรนด์ที่มีการคุมราคาขายให้ตัวแทนจำหน่ายตั้ง
แต่ตัวแบรนด์เอง “ทำโปรทุกวัน” ให้ต่ำกว่าราคาที่ควบคุม
และอ้างว่าเป็นเพราะเข้าแคมเปญต่างๆของ Platform
ความจริงคือ ตั้งแต่ต้นทาง
แบรนด์สามารถควบคุมเองได้ว่า
จะเข้าแคมเปญไหน / จะเข้าร่วมไหม
และสามารถเลือกสินค้าทำโปรโมชั่นได้ตั้งแต่แรก
แบรนด์รู้ก่อนหน้าแคมเปญจะเริ่มอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
ว่าราคาสุดท้ายในแคมเปญจะเป็นเท่าไหร่
ก่อนที่แคมเปญใหญ่ๆ จะเริ่มขึ้นจริง
ถ้าแบรนด์ไหนอ้างว่า เพราะเข้าแคมเปญ
หรือมีทีมงานเอาสินค้าไปเข้า แล้วทำอะไรไม่ได้แล้ว
อ้างแบบนี้เรื่อยๆ
แปลว่า
เค้าไม่ได้ต้องการอะไรจากคุณตั้งแต่แรก
แต่เค้ากำลังจะฮุบยอดขายจากคุณครับ
5. สินค้าแบรนด์ที่มีการจ้างทีมงาน LIVE STREAM เอง
และมีการจัดโปรโมชั่นนาทีทอง หรือ
ราคาพิเศษตลอด LIVE STREAM แบบต่อเนื่อง
ก็พูดง่ายๆ คือ ตั้งราคาแบบลดแล้วลดอีกนั่นแหละฮะ
ลูกค้าได้ทั้งความน่าเชื่อถือจากแบรนด์
และได้ราคาพิเศษ
คุณต้องถามว่า คุณเองจะเอาอะไรไปสู้?
ไป LIVE แข่งกับเค้าไหวไหม?
หรือ จะไปจัดโปรนาทีทองเพื่อตัดกำไรตัวเองสู้ล่ะ?
6. สินค้าแบรนด์ที่มีทีมงานพร้อม
มีวินัยและมีแบบแผนการลุยออนไลน์ชัด
เช่น นอกจาก LIVE แบบสม่ำเสมอแล้ว
ยังทำ VDO สั้น ลง Social Media เช่น TikTok Shopee ทุกวัน
นั่นหมายถึง แบรนด์ได้สร้างการรับรู้ต่อเนื่อง
และยิ่งทำทั้ง LIVE + VDO ต่อแบบมีวินัย มีเป้าหมาย
ใน TikTok หรือ Shopee ก็ถือว่าเป็นการทำภารกิจไปในตัว
เพราะเป็นสิ่งที่ Platform ต้องการผลักดันอยู่แล้ว
เมื่อทำภารกิจมากตามที่ Platform ต้องการ
Platform จะตอบแทนโดยการเอื้อโค้ดส่วนลดเพิ่มให้ผู้ขายประเภทนี้อีก
แปลว่า ถ้าคุณไม่ขยันเท่าเขา , มีทีมงานทำแทน หรือ ขยันได้มากกว่า
สุดท้ายคุณก็อาจแพ้อยู่ดี
7. สินค้าแบรนด์ที่เมื่อคุณเช็คราคาโปรโมชั่นวันแคมเปญ
ลูกค้าปลีกสามารถซื้อสินค้าได้ถูกกว่าราคาส่งที่คุณซื้อ
8. สรุป ถ้าหากคุณเป็นตัวแทน
และมีแบรนด์ทำลักษณะแบบที่ผมเล่ามา
คุณจะมีสถานะเป็น “คู่แข่ง” ไม่ใช่ “พันธมิตร”
(แม้ว่าคุณจะมีสถานะเป็นตัวแทนจำหน่าย)
แต่ถ้าคุณปล่อยวางสินค้าเหล่านี้ลง
แล้วเลือกเป็น นายหน้าปักตะกร้าแทน
คุณจะมีสถานะเป็น “พันธมิตรชั่วคราว” ที่ไม่ใช่ “คู่แข่ง”
คำว่าชั่วคราวหมายถึง
คนที่มีสถานะเป็นนายหน้านั่นเองครับ
เรื่องจริง คือ
นายหน้าก็มีโอกาสถูกใช้แล้วทิ้งในอนาคตเหมือนกัน
คือพอแบรนด์ติดตลาด
ก็มักลดค่าคอม ค่านายหน้า
หรือ ยกเลิกค่าคอม ค่านายหน้าไปเลยก็มี
แต่อย่างน้อยมันก็ยังดีกว่าเป็นคู่แข่งตรงๆ
ต้องลงทุนสต๊อกสินค้า ทั้งที่ไม่รู้จะขายได้ไหม
ถ้าสินค้าที่คุณจะขาย ยังทำแบบนี้
คนตัวเล็กๆ ถ้าไม่มีตลาดของตัวเอง หรือช่องทางที่แบรนด์เข้าไม่ถึง
สู้ไปก็แพ้อยู่ดี
ความเห็นส่วนตัวของผมคือ
ลองใช้เวลาที่เท่ากัน ไปหาสินค้าที่สร้างรายได้ กำไรที่ดีกว่าดีกว่าครับ
สำหรับโพสนี้ สามารถตามไปอ่าน Comment เพื่อนๆทั้งหมดได้ที่นี่เลยครับ
https://www.facebook.com/share/p/PC3qX3iCf99BHmho/
อย่าลืมกดติดตาม Jade : เลือดสาดมาร์เก็ตติ้ง เพื่อไม่พลาดโพสถัดไปฮะ
เพจจริงต้องมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า
มีคำถามอะไรเพิ่ม ถ้าตอบได้จะตอบให้
Comment ไว้ได้เลยจ้ะ